วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง

พุทธศาสนสุภาษิต
จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง :   จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

       จิตที่ฝึกดีแล้ว หมายถึง จิตที่ได้รับการดูแลรักษาและฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดีแล้ว เป็นจิตที่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ปราศจากกิเลส เป็นจิตที่มีปัญญาเป็นตัวกำหนดจิต

การฝึกฝนจิตในทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า การบริหารจิต ซึ่งก็คือการทำสมาธิ หรือการทำจิตให้นิ่ง ไม่วอกแวก นั่นเอง เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก  การตั้งสติพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจตามความเป็นจริง 

      ในชิวิตประจำวันคนเรานั้นต้องประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ทำให้จิตใจต้องเผชิญกับอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่นดีใจ เสียใจ ผิดหวัง สมหวัง โกรธ อิจฉาริษยา สรรเสริญ นินทา เป็นต้น

        ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมจิต อาจแสดงพฤติกรรม ออกมาตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตใจ บางครั้งก็แสดงออกมาจนเกินเหตุ รุนแรง ก้าวร้าว มีการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตนเอง และทำให้สุขภาพจิตเสีย  เกิดความทุกข์ในจิตใจ เกิดความเครียด ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

      แต่หากผู้ใดได้รับการฝึกอบรมจิตมาอย่างดี ก็ย่อมรู้จักควบคุมจิตใจ ให้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไปกับ กิเลสทั้งปวง

เช่นสามารถระงับความโกรธได้ โดยไม่แสดงสีหน้า กิริยา หรือวาจาโต้ตอบ ผู้ที่ทำให้เกิดความโกรธ หากเป็นเช่นนี้แล้ว

บุคคลนั้นก็จะพบแต่ความสุข ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายกับสิ่งที่มากระทบจิตใจ ไม่นำสิ่งเหล่านั้นมาทำให้เกิดความทุกข์ในใจ

ความสุขก็จะเกิดขึ้น ปัญญาก็จะตามมา ถ้าเรามีแต่ความทุกข์ปัญญาก็จะหายไป

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไข

                  สุราเป็นจุดเริ่มต้นของยาเสพติด เพราะจะทำให้คนเราประมาท และขาดจิตสำนึกที่ดี อย่าเห็นการดื่มสุรา (เหล้า เบียร์ ) เป็นเรื่องปกติ
การป้องกันยาเสพติด มีหลักการป้องกันใหญ่ๆ  4 คือ
1.ป้องกันตนเอง  เริ่มจากมีระเบียบวินัยในตนเอง ขยั่นหมั่นเพียร
                           ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                           เลือกคบเพื่อนที่ดี ไม่มั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด
                           ไม่ใช้ยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
                           อย่าทดลอง ยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด
2.ป้องกันครอบครัว
                          เริ่มจากสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว
                           แบ่งเบาภาระหน้าที่แก่กันและกันภายในครอบครัว
                          มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
                          สอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
                          คอยอบรม ตักเตือนสมาชิกในครอบครัว
3.ป้องกันชุมชน
                        ช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด
                         เฝ้าระวังปัญหาในชุมชนหรือระแวกบ้านไม่ให้มีคนที่มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4.ป้องกันสังคม
                       โดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการเป็นหูเป็นตาช่วยสอดส่องเฝ้าระวังปัญหา
                        หากพบ บุคคลใด ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดโปรดแจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่
                        ตำรวจ  หรือหน่วยงาน ปปส.ทันที 
                                                                                                           


                                                                                                                       
                                                                                                                                       
ข้อมูลบางส่วนจาก วารสาร ปปส.